เมนู

ได้สมบัติของหมู่เปรตเหล่านั้น. บทว่า หิรญฺเญน กยากยํ ความว่า ใน
ปิตติวิสัยนั้น ไม่มีแม้แต่การซื้อขายด้วยเงินซึ่งจะพึงเป็นเหตุไห้ได้สมบัติของ
หมู่เปรตเหล่านั้น.
บทว่า อิโต ทินฺเนน ยาเปนฺติ เปตา กาลตา ตหึ ความว่า
แต่หมู่เปรต ย่อมยังชีพให้เป็นไป ยังอัตภาพ ให้ดำเนินไป ด้วยทาน
ที่หมู่ญาติ หรือหมู่มิตรสหาย ให้ไปจากมนุษยโลกนี้แต่อย่างเดียว.

บทว่า เปตา ได้แก่ หมู่สัตว์ที่เข้าถึงปิตติวิสัย. บทว่า กาลคตา ได้แก่ ไป
ตามเวลาตายของตน. อธิบายว่า ทำกาละ ทำมรณะ. บทร่า ตหึ ได้แก่
ในปิตติวิสัยนั้น.

พรรณนาสองคาถาคือคาถาที่ 8 และคาถาที่ 9


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสว่า ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้วย่อมยังอัค
ภาพให้เป็นไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่หมู่ญาติมิตรสหายให้แล้วจากมนุษย-
โลกนี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงประกาศความนั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย
จึงตรัส 2 คาถานี้ว่า อุนฺนเต อุทกํ วุฏฺฐํ เป็นต้น
คาถานั้น มีความว่า น้ำที่หมู่เมฆให้ตกลงบนที่ดอนบนบก บนภูมิ-
ภาคที่สูง ย่อมไหลลงที่ลุ่ม คือไหลไปถึงภูมิภาคที่ลุ่มต่ำ ฉันใด ทานที่หมู่
ญาติมิตรสหายให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลอธิบายว่าบังเกิดผลปรากฏผล
แก่หมู่เปรต ฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ เปตโลก โลกเปรต ชื่อว่า ฐานะ
ที่ตั้งแห่งความสำเร็จผลแห่งทาน เหมือนที่ลุ่มเป็นฐานะที่ขังน้ำอันไหลมา.
เหมือนอย่างตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จผลแก่สัตว์ที่ตั้ง
อยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะ ดังนี้ เหมือนย่างว่า น้ำที่ไหล
มาจากชุมนุมด้วย ซอกเขา คลองใหญ่ คลองซอย หนองบึง เป็นแม่น้ำใหญ่